Tuesday, October 2, 2007

MIyamoto Musashi,5 rings rules of pure fight.

The Master of Sword Japanese"Miyamoto Musashi "

มิยาโมโต้ มูซาชิ
เป็นบุคคลที่เคยมีตัวตนจริง ๆ ในประวัติศาสตร์ญี่ปุ่น อาจกล่าวได้ว่าเขาเป็นนักดาบที่มีชื่อเสียงที่สุดในคริสต์ศตวรรษที่ 17เป็นผู้แต่งหนังสือเกี่ยวกับกลยุทธ์การต่อสู้ชื่อ คัมภีร์ห้าห่วง (The Book of Five Rings)ซึ่งทั่วโลกยอมรับว่าเป็นผลงานอัจฉริยะ ก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 เล็กน้อย โยชิคาว่า เอญิได้เอาเรื่องราวของมูซาชิมาเขียนเป็นนิยายหลังจากนั้นเป็นต้นมา มูซาชิก็กลายเป็นภาพซามูไรในอุดมคติของชาวญี่ปุ่น เฉพาะในดินแดนอาทิตย์อุทัยเองนิยายเรื่องนี้ได้รับการตีพิมพ์จำหน่ายไปแล้วถึง 120 ล้านเล่ม ยังไม่นับการพิมพ์เผยแพร่เป็นภาษาอื่น ๆอีกต่างหาก ในสายตาของผม คุณค่าของมูซาชินั้นมีมากกว่าการเป็นหนังสือคลาสสิคของชาติใดชาติหนึ่งถ้าเราไม่ติดอยู่กับอคติตะวันตกจนเกินไปนักก็เห็นจะต้องถือว่าหนั้งสือเล่มนี้มีฐานะเป็นวรรณกรรมเอกของโลกไม่แพ้ ดอน คิโฮเต้ ของเซอร์วานเตส หรือเหยื่ออธรรม ของวิตเตอร์ ฮูโก้เลยทีเดียว ที่ผมกล่าวเช่นนี้ก็เพราะว่า การแสวงหาของมิยาโมโต้ มูซาชิ มิได้มีแค่ชัยชนะในสมรภูมิเท่านั้นหากเป็นทั้งการแสวงหาทางด้านจิตวิญญาณ-ความหมายแห่งชีวิต และความเป็นเลิศในเชิงดาบไปพร้อม ๆ กัน มูซาชิมีชีวิตอยู่ในช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อของประเทศญี่ปุ่น คือช่วงที่โชกุโตกุงาว่ากำลังก้าวขึ้นสู่อำนาจเขาเป็นลูกของซามูไรบ้านนอกขาดแม่ และในวัยเด็กทำท่าว่าจะเป็นคนที่เอาดีไม่ได้ อย่างไรก็ตามลักษณะเด่นของมูซาชิคือเป็นคนบึกบึนไม่ยอมแพ้ใครซึ่งเป็นฐานสำคัญอย่างหนึ่งของชายชาตินักรบ ในปี ค.ศ.1600 กลุ่มโตกุงาว่าซึ่งมีที่มั่นอยู่ ณ เมืองเอโดะทางภาคตะวันออกของญี่ปุ่นได้ทำสงครามชี้ขาดกับกลุ่มขุนพลตะวันตก หรือที่เรียกว่ากลุ่มโอซาก้า ตอนนั้นมูซาชิอายุเพียงแค่ 17 ปีแต่ก็ได้เข้าร่วมสงครามด้วย ในฐานะทหารเลว สมรภูมิที่พลิกผันชะตากรรมของประเทศญี่ปุ่นเกิดขึ้นที่ทุ่งเซกิงาฮาร่า หลังจากสมรภูมินี้แล้ว โตกุงาว่าอิเอยาสุได้ตั้งตัวเป็นโชกุน ส่วนบรรดานักรบของฝ่ายที่พ่ายแพ้ต่างแตกสานซ่านเซ็นกลายเป็น“ซามูไรไร้สังกัด” หรือที่เรียกกันว่า “โรนิน” มูซาชิเป็นหนึ่งในจำนวนนั้น อย่างไรก็ตาม เนื่องจากอายุยังน้อย ชีวิตของมูซาชิจึงไม่ถึงกับเสียหลักจนเกินไปนักด้วยการชี้แนะของพระเซนรูปหนึ่งที่ชื่อ ทากุอัน มูซาชิได้เลิกนิสัยมุทะลุดุดันชอบเอาชนะแบบบ้าเลือดแล้วหันมาแสวงหาหนทางการเป็นนักสู้ที่แท้จริง ในอันดับแรกสุด เขาค้นพบว่า การเป็นนักรบนั้นแตกต่างจากนักฆ่าโดยสิ้นเชิงนักรบย่อมเห็นคุณค่าของชีวิตไม่ว่าของตนเอง หรือของผู้อื่น ฉะนั้นโดยทั่วไปแล้วเขาจึงไม่โอ้อวดเสี่ยงภัยอย่างไร้สาระ หากทะนุถนอมชีวิตไว้เพื่อมอบให้กับจุดมุ่งหมายที่เหมาะสมจริง ๆ อันดับต่อมา มูซาชิค้นพบว่า การใช้กำลังกับภูมิปัญญามิใช่สิ่งแยกออกจากกันได้ ฉะนั้นในเบื้องต้นเขาจึงขังตัวเองอยู่กับห้อง ๆ เดียวเป็นเวลานานถึง 3 ปีมูซาชิอ่านทุกอย่างตั้งแต่ประวัติศาสตร์ปรัชญามาจนถึงตำราพิชัยสงครามขณะเดียวกันก็ได้ฝึกควบคุมตัวเองให้รู้จักสงบนิ่งเมื่อต้องเผชิญกับความเหงาอ้างว้างปราศจากสัมพันธ์กับผู้คน อันดับสุดท้ายที่ประทับใจผมมากที่สุด มูซาชิได้ค้นพบว่าหนทางแห่งนักรบนั้นแยกไม่ออกจากหนทางแห่งความเป็นคน ความเป็นเลิศในเพลงดาบคือสิ่งเดียวกับความงามความสงัดสุข และความดี พูดอีกนัยหนึ่งคือมูซาชิจะไม่สามารถบรรลุความเป็นเลิศในฝีมือได้ถ้าหากเขาไม่แสวงหาทางหลุดพ้นในระดับจิตวิญญาณไปพร้อม ๆกัน หนังสือเรียกสิ่งที่มูซาชิแสวงหาว่า the way (โด ในภาษาญี่ปุ่น หรือเต๋าในภาษาจีน)ซึ่งถ้าแปลเป็นไทยก็คงต้องใช้คำว่า อภิมรรค ตลอดทั้งเล่มของหนังสือเล่มยักษ์นี้ เราจะพบว่า มูซาชิเดินทางอยู่ตลอดเวลาเขาเข้าไปอยู่ในเหตุการณ์หลายอย่าง ผ่านร้อนผ่านหนาว ทุกข์ระทมขมขื่น และภัยอันตรายสารพัดเพื่อค้นหา theway ที่ว่านี้ บางครั้งเขาถึงขั้นร่ำไห้เนื่องจากหาไม่พบสิ่งที่ต้องการ ท่ามกลางการฝึกฝีมือดาบ มูซาชิได้เรียนรู้การวาดภาพ การแกะสลัก การเขียนบทกวีตลอดจนสิ่งประณีตละเอียดอ่อนอีกหลาย ๆ อย่าง ในที่สุดเขาก็ค้นพบว่าทั้งหมดนี้เป็นสิ่งเดียวกัน มันคือศักยภาพของความเป็นคน จากเด็กหนุ่มที่บ้าเลือดไร้ทิศทาง มูซาชิค่อย ๆ กลายเป็นหนุ่มใหญ่ที่อ่อนน้อมถ่อมตนละเอียดอ่อนทั้งกับผู้อื่นและตัวเอง เขาเติบโตพ้นเรื่องของศักดิ์ศรีหน้าตาที่เป็นเพียงเปลือกนอกตลอดจนลาภ ยศ สรรเสริญทั้งปวง อันนี้ทำให้มูซาชิสามารถหลีกเลี่ยงสมรภูมิที่ไม่จำเป็นได้โดยไม่แยแสกับเสียงติฉินนินทาทว่ายามใดที่ต้องรบ เขาก็สามารถรบได้ด้วยความสงบนิ่งดุจภูผาศัตรูคนแล้วคนเล่าร่วงล้มด้วยเพลงดาบไร้สำนักของเขา กระทั่งชื่อมูซาชิกลายเป็นที่รู้จักกันทั่วไป แม้ในยามที่มีชื่อเสียงแล้วก็ตาม มิยาโมโต้ มูซาชิก็ยังใช้ชีวิตเหมือนนักพรตผู้ถือดาบ กินอยู่สมถะนุ่งเจียมห่มเจียม ครองตัวเป็นนักดาบไร้สังกัดปราศจากฐานะตำแหน่งใด ๆในวงจรอำนาจซึ่งกำลังแก่งแย่งชิงดีกันอย่างเอาเป็นเอาตาย ในฉากสุดท้ายของนิยาย มูซาชิต้องดวลดาบกับซาซากิ โคยิโร่ซึ่งเป็นซามูไรที่มีชื่อเสียงมากที่สุดอีกคนหนึ่ง และมีฐานะเป็นทั้งเจ้าสำนักและอัศวินชั้นสูงทั้งสองจะต้องประลองฝีมือกันโดยเอาชีวิตเป็นเดิมพันต่อหน้าบรรดาขุนนางชั้นผู้ใหญ่ซึ่งมานั่งดูเป็นสักขีพยาน สถานที่นัดพบครั้งนั้นอยู่บนเกาะเล็ก ๆ ห่างจากฝั่งประมาณ 2 ไมล์ขณะที่ผู้คนจากทั่วสารทิศได้หลั่งไหลกันมาดูเหตุการณ์ด้วยความตื่นเต้นมูซาชิกลับใช้เวลาก่อนดวลนั่งวาดรูป จากนั้นก็ขึ้นเรือลำเล็ก ๆ ไปสู่จุดนัดหมายและใช้เวลาบนเรือถากพายหักด้ามหนึ่งเพื่อใช้เป็นอาวุธ ปะทะกันได้ไม่ถึงอึดใจ เขาก็ใช้ดาบไม้นั้นสังหารคู่ต่อสู้ลงไปและในขณะที่ทุกคนยังไม่หายตื่นเต้นกับฉากดวลระหว่างนักดาบชั้นครู มูซาชิก็โดดกลับลงเรืออย่างเงียบ ๆไม่มีท่าทีแยแสกับเสียงวิพากษ์วิจารณ์ทั้งปวง เรื่องทั้งหมดจบลงตรงนี้ ผู้อ่านหลายท่านคงสงสัยว่า ผมนำเรื่องราวของมูซาชิมาเล่าทำไม คำตอบมีอยู่ง่าย ๆ คือ ผมอยากเป็นอย่างเขาแน่ล่ะ ผมไม่ได้หมายความว่าตัวเองมีศักยภาพเทียมเท่าบุรุษผู้ยิ่งใหญ่ท่านนี้ และยิ่งไม่ได้หมายความว่าตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป ผมจะหันไปเลือกหนทางชีวิตแบบนักรบพเนจร สิ่งที่ผมต้องการบอกมีเพียงอย่าง คือผมศรัทธาใน “วิถีของมูซาชิ” ในชีวิตที่เหลือของผม มีปรารถนาอยู่อย่างหนึ่งคือต้องการบรรลุความเป็นเลิศในด้านการเขียนหนังสือเมื่อผมเขียน ผมอยากให้ความลึก ความงาม และความดีล้วนผนึกแน่นอยู่ในงานของตนเอง แต่กระทั่งป่านนี้แล้วผมก็ยังทำไม่ได้ ผมไม่รู้ว่า อีกนานเท่าใดจึงจะสามารถก้าวไปถึงจุดที่ตัวเองปรารถนาบางทีตลอดชั่วชีวิตนี้อาจจะไปไม่ถึงจุดนั้นเลยก็ได้ อย่างไรก็ตาม ผมมองเห็นอุปสรรคอยู่อย่างหนึ่งซึ่งถ้าทำได้ผมอยากจะขจัดออกไปเสีย อย่างน้อยก็ชั่วคราว สิ่งนั้นคือการเขียนที่ล้นเกิน ซึ่งนำมาสู่ภาวะที่ไม่ได้เขียนอะไรเลย ถ้ามูซาชิรีบร้อนรับตำแหน่งในสำนักดาบที่มีชื่อเสียง หรือไม่รู้จักหลีกเลี่ยงสนามรบที่ไม่จำเป็นเขาคงไม่สามารถหัดสมาธิหรือฝึกฝีมือไปสู่เพลงดาบชั้นสูงได้ เงิน หน้าตาและชื่อเสียงอาจจะรั้งเขาไว้ให้เป็นแค่ซามูไรธรรมดา


Musashi 's Profile in English version:-


คัมภีร์ห้าห่วง วิถีดาบ มิยาโมโต้ มุซาชิ : บทแห่งดิน
บทแห่ง “ดิน” เป็นการปูพื้นฐานความเข้าใจถึง “วิถีแห่งกลยุทธ์” และกล่าวถึงแนวทางของสำนัก ที่ไม่ได้เน้นเพียงการฝึกฝนเพลงดาบ หากแต่จะสำเร็จวิถีแห่งยุทธ์ จำต้องรู้ถึงสรรพสิ่งทั้งในแนวกว้างและในเชิงลึก“มุซาชิ” อธิบายว่า “กลยุทธ์” คือวิถีแห่งนักสู้ไม่ว่านายทัพหรือพลทหารล้วนแล้วแต่ต้องรู้ถึงวิถีแห่งกลยุทธ์ แต่น่าเสียดายว่ากลับไม่มีนักสู้ใดที่เข้าใจถึง “วิถีแห่งกลยุทธ์” อย่างถ่องแท้สรรพสิ่งล้วนมีวิถี พุทธคือวิถีแห่งความพ้นภัย การศึกษาคือวิถีแห่งนักปราชญ์และการแพทย์คือวิถีแห่งการรักษาเยียวยา แม้แต่กวีนิพนธ์ การชงชา การจัดดอกไม้ ตลอดจนศิลปะแขนงต่าง ๆ ล้วนแล้วแต่มี ”วิถี” ของมันให้ฝึกฝนสำหรับ “วิถี” ของนักสู้ก็คือ “ความพยายามยอมรับในความตาย” แม้ความตายจะเป็นสิ่งที่ทุกผู้คนต้องพบพาน แต่สำหรับชนชั้นนักสู้แล้ว การเผชิญหน้ากับความตายอย่างมีคุณค่า คือการตายในหน้าที่ โดยปราศจากความอับอาย นักสู้จะบรรลุถึงวิถีนี้ได้จึงต้องแจ่มแจ้งใน “วิถีแห่งกลยุทธ์” เพื่อพิชิตชัยในทุกศึกที่จะนำมาซึ่งศักดิ์ศรีและเยรติแห่งนักสู้และผู้เป็นนายวิถีแห่งกลยุทธ์“มุซาชิ” มีความเห็นว่า การเปิดสอน “เพลงดาบ” โดยทั่วไป เป็นเพียงหนึ่งในแนวทางการแสวงหาผลประโยชน์เท่านั้น หาใช่วิถีแห่งกลยุทธ์ที่จริงไม่ เพราะตั้งแต่อดีตกาล “เพลงดาบ” ถูกจัดอยู่ในหนึ่งวิชาช่างสิบหมู่และศิลปะเจ็ดแขนง อันสะท้อนให้เห็นว่าเป็นเช่นเดียวกับงานศิลปะที่เสนอขายอยู่ทั่วไปซึ่งเปรียบได้กับการนำเสนอ “กาก” แต่ไม่ได้แจกแจงถึง “แก่น” แนวทางเช่นนี้อาจเป็นที่ยอมรับของคนทั่วไป ที่มักจะให้ความสำคั_กับดอกไม้มากกว่าเมล็ดพันธุ์ หากแต่เป็นแนวความคิดที่มุ่งแสวงหาผลประโยชน์เป็นหลัก จึงนำไปสู่การแสดงโอ้อวดโดยปราศจากกลยุทธ์ที่เที่ยงแท้ และย่อมเป็นต้นเหตุแห่งความพินาศในที่สุด“มุซาชิ” กล่าวว่า แม้แต่คนในชนชั้นทั้งสี่ก็ยังต้องมี “วิถี” ของตนเอง (สังคมญี่ปุ่นในยุคสมัยนั้น แบ่งชนชั้นทางสังคมออกเป็น 4 กลุ่มคือ นักสู้ ชาวนา ช่างฝีมือ และพ่อค้า) ชาวนาย่อมต้องรู้จักใช้จอบเสียมและเครื่องมือในการเพราะปลูก อีกทั้งเฝ้าดูการเปลี่ยนแปลงของฤดูกาลที่มีผลต่อพืชสวนไร่นา พ่อค้าย่อมต้องรู้จักใช้ส่วนประกอบในการผลิตสินค้า เพื่อจำหน่ายสร้างกำไรหาเลี้ยงชีพสำหรับนักสู้ ความเชี่ยวชาญในอาวุธคู่มือคือวิถีแห่งตน และหากปราศจากซึ่งกลยุทธ์แล้ว ย่อมแสดงถึงความรู้อันอ่อนด้อย ช่างฝีมือก็ต้องรู้จักใช้เครื่องไม้เครื่องมือให้เกิดประโยชน์สูงสุด ต้องมีการวางแบบที่ถูกต้องละเอียดถี่ถ้วน และสร้างงานตามแบบที่กำหนดไว้“มุซาชิ” ยังขยายความของ “กลยุทธ์” โดยเปรียบเทียบกับ “วิถีแห่งช่างไม้” งานของช่างไม้คือการสร้างบ้าน บ้านก็มีหลากหลายลักษณะที่แตกต่างกันออกไป ทั้งบ้านของผู้มีบุญหนักศักดิ์ใหญ่ บ้านของนักสู้ หรือข้านของชนชั้นต่าง ๆ ช่างจึงจะต้องเข้าใจถึงบ้านที่ตนเองจะสร้างว่าเป็นแบบใด สำหรับชนชั้นใด จึงจะสามารถสร้างบ้านขึ้นจากแบบที่ร่างไว้นายช่างใหญ่ต้องเข้าใจถึงบ้านในรูปแบบต่าง ๆ ซึ่งครอบคลุมถึงอาคารและวัดวาอาราม ตลอดจนพระราชวัง เข้าใจถึงหลักโครงสร้างสถาปัตยกรรม และรูปแบบของอาคารสถานที่ต่าง ๆ ที่แตกต่างกันไปตามแต่ละท้องถิ่น แต่ละชนชั้น เพื่อที่จะสามารถควบคุมใช้งานช่างไม้ให้สร้างบ้านได้ตามแบบแผนที่วางไว้ เช่นเดียวกับนายทัพที่รู้จักใช้กำลังพล งานบ้านเริ่มตั้งแต่การคัดเลือกและแยกแยะไม้ ไม้ตรงเรียบสวยงามเข็งแรงเหมาะกับงานเสาด้านอก ไม้ตรงเรียบแต่มีตำหนิเล็กน้อยสามารถใช้เป็นเสาภายในและขื่อคาน สำหรับไม้เนื้ออ่อนที่ไม่แข็งแรงนักแต่เรียบงาม สามารถใช้ทำเป็นผนังและกรอบประตู ไม้ที่แข็งแรงแต่ไม่สวยงามก็สามารถใช้ผูกเป็นนั่งร้านเพื่อการก่อสร้าง แม้แต่ไม้ที่ดูไม่สวยงามและเปราะบางก็สามารถใช้เป็นเชื้อฟืนนายช่างใหญ่จะต้องรู้ถึงขีดความสามารถของช่างลูกมือที่มีอยู่ เพื่อที่จะมอบหมายงานที่เหมาะสมและตรงกับงานที่ถนัดช่างบางคนอาจถนัดในการทำห้องโถง บ้างอาจถนัดการทำประตู บานเลื่อน บ้างอาจถนัดทำผนังเพดาน ช่างฝีมือรองลงมาก็จะรับมอบหมายงานถากเหลา และตบแต่งไม้ถือเป็นการฝึกฝนฝีมือให้มีประสบการณ์มากยิ่งขึ้น ในขณะสร้างงานนานช่างใหญ่ก็จะต้องสามารถควบคุมงานต่าง ๆ ให้เป็นไปตามขั้นตอนลดความสับสนอลหม่าน เข้าใจถึงข้อจำกัดของช่างลูกมือแต่ละคน รู้จักการกระตุ้นสร้างขวั_และกำลังใจเมื่อถึงยามที่จำเป็นวิถีแห่ง “กลยุทธ์” สำหรับนายทัพก็เป็นเฉกเช่นเดียวกัน นั่นคือความรู้ในการศึกในแต่ละรูปแบบ ตลอดจนเข้าใจถึงขีดความสามารถของกองทัพตัวเอง วิถีแห่งกลยุทธ์ของพลทหารก็เป็นเช่นเดียวกับช่างไม้ ที่ต้องพกพากล่องเครื่องมือติดตัวไปทุกที่ ทำงานตามคำสั่งของนายช่างใหญ่ สร้างงานได้อย่างเที่ยงตรงสวยงามความสำเร็จของช่างไม้วัดจากผลงานที่ปราณีตบรรจง รอยต่อเรียบสม่ำเสมอไม่บิดเบี้ยว ขัดเงาอย่างเรียบง่ายสวยงามไม่ใช่เพียงเพื่อปกปิดความบกพร่อง เมื่อสั่งสมประสบการณ์จนเกิดความเชี่ยวชาญในทุกแขนงแห่งงานไม้ ก็สามารถเลื่อนชั้นขึ้นเป็นนายช่างใหญ่ช่างไม้จะต้องหมั่นรักษาเครื่องไม้เครื่องมือให้คมกริบอยู่ตลอดเวลา แม้ในยามว่างก็ต้องหมั่นสร้างงานชิ้นเล็ก ๆ อันเป็นหนทางการฝึกฝนฝีมือ และสร้างความคุ้นเคยเชี่ยวชาญกับเครื่องมือแต่ละอย่าง ดังเช่นการปฏิบัติตนของนักสู้ หรือนักวางกลยุทธ์ วิถีแห่งกลยุทธ์ จึงครอบคลุมไปถึงการมีผู้ใต้บังคับบัญชาที่ดี มีนาวทางการปกครองที่ดี ใช้คนอย่างฉลาด รู้จักอุปถัมภ์ค้ำจุน และมีการรักษากฎระเบียบวินัยที่เคร่งครัดว่าด้วย “อิจิ ริว นิโตะ” “อิจิ ริว นิโตะ” คือแนวทางดาบของ “มุซาชิ” นับตั้งแต่อดีตกาลนักสู้ล้วนคาดดาบ 2 เล่ม หนึ่งเป็นดาบยาว อีกหนึ่งเป็นดาบสั้น โดยทั่วไปวิธีการใช้ดาบของสำนักอื่น คือการกุมดาบด้วยสองมือ เช่นเดียวกับการใช้หอกหรือขวาน นั่นหมายความว่า เป็นการใช้ดาบเพียงเล่มเดียว ในขณะที่ดาบอีกเล่มหนึ่งยังประดับไว้ในฝัก ไม่อาจเปล่งพลานุภาพของดาบถึงขีดสุด การกุมดาบด้วยสองมือทำให้การกวัดแกว่งดาบเป็นไปอย่างเชื่องช้า และติดขัดและไม่เหมาะสมต่อสภาพแวดล้อมต่าง ๆ เช่น ขณะอยู่บนหลังม้า การต่อสู้บนพื้นที่ขรุขระ หรือการวิ่งท่ามกลางฝูงชน แนวทางของ “มุซาชิ” จึงฝึกฝนให้ใช้ดาบด้วยมือเดียว ผู้ฝึกฝนจึงสามารถใช้ดาบทั้งสองเล่มได้พร้อมกันทั้งซ้ายและขวา ในขณะใช้ดาบเพียงเล่มเดียว สามารถใช้อีกมือที่ว่าง เพื่อช่วยในการทรงตัว กุมบังเหียน ตลอดจนการจับถืออาวุธอื่น ประโยชน์ของการใช้ดาบทั้งสองเล่มยังมีอีกมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในยามที่ต้องต่อสู้กับคนหมู่มากสำหรับผู้ไม่คุ้นเคยการกุมดาบด้วยมือเดียวจะต้องใช้กำลังมาก และยากต่อการกวัดแกว่ง แต่เมื่อผ่านการฝึกฝน ความคล่องแคล่วก็จะทวีขึ้นตามพละกำลังที่เพิ่มพูน ที่สำคัญแนวทางของ “มุซาชิ” นั้น ปัจจัยในการเอาชัยคือ จังหวะในการวาดดาบ ไม่ใช่ความเร็วของเพลงดาบถึงแม้ว่า “ดาบ” จะได้รับการยกย่องว่าเป็นที่สุดแห่งศาสตราวุธ และเชื่อวันว่าผู้บรรลุในวิถีแห่งดาบ เป็นผู้ที่บรรลุวิถีแห่งกลยุทธ์ และจะมีชัยเหนือคู่ต่อสู้ทั้งปวง แต่จิตวิญญาณของวิถีแห่งกลยุทธ์ที่แท้จริงคือการเอาชัย ดังนั้นถ้าผู้ฝึกฝนสามารถเรียนรู้วิถีแห่งศาสตร์อื่น และแผ้วทางจนได้รับชัยชนะก็กล่าวได้ว่า ค้นพบวิถีแห่งกลยุทธ์ของตนเองอาวุธกับกลยุทธ์ในบทแห่งดินนี้ “มุซาชิ” ยังกล่าวถึง การเลือกใช้อาวุธว่า ต้องเหมาะสมกับสภาพพื้นที่และช่วงเวลา ในขณะที่ดาบยาวใช้ได้กับทุกสถานการณ์ ดาบสั้นเหมาะที่จะใช้ในพื้นที่จำกัดหรือในระยะประชิดคู่ต่อสู้ ส่วนขวานศึกและหอกนั้นใช้ในการรบพุ่ง โดยที่หอกจะเข้มแข็งและเหมาะกับการรุก ส่วนขวานศึกนั้นเหมาะกับการตั้งรับ ส่วนธนูเหมาะสำหรับการยิงสนับสนุนเพื่อการโจมตี หรือสกัดกั้นในขณะล่าถอย ซึ่งไม่มีประโยชน์ใดเลย ในการต่อสู้แบบตะลุมบอนหรือการยิงระยะไกล เช่นเดียวกับปืนไฟ ที่ใช้งานได้ดีเฉพาะในป้อมค่าย แต่ไม่สามารถหาญหักกับดาบในระยะประชิดใกล้การเลือกใช้อาวุธจึงต้องขึ้นกับสถานการณ์ ถึงแม้โดยทั่วไปนักสู้จะมีอาวุธคู่มือ แต่การเลือกใช้อาวุธไปตามความถนัดและความชอบพอของตนเอง โดยไม่คำนึงถึงสภาพแวดล้อม นับเป็นความรู้เท่าไม่ถึงการณ์อันจะนำไปสู่ความหายนะได้“มุซาชิ” มีความเห็นว่า อาวุธที่ดีมีไว้ใช้งาน ไม่ใช่เป็นเพียงแค่เครื่องประดับ ม้าศึกก็จัดเป็นยุทโธปกรณ์อย่างหนึ่ง จะต้องมีความเข็มแข็งอดทน ไม่มีข้อบกพร่อง เช่นเดียวกับดาบต้องคมกล้า หอกทวนต้องตั้งตรงแข็งแรง ธนูและปืนไฟต้องมีความแม่นยำและคงทนต่อการใช้งาน “จังหวะ”“มุซาชิ” ให้ความสำคั_กับ “จังหวะ” เป็นอย่างยิ่ง โดยกล่าวว่าความรู้สำคั_ที่กล่าวถึงในคัมภีร์ทั้งห้าบทคือเรื่องราวของ “จังหวะ” ที่พึงเรียนรู้นั่นเอง เพราะนักสู้ที่จะสามารถช่วงชิงได้ ต้องอาศัยการหยั่งรู้ถึงจังหวะของคู่ต่อสู้ และช่วงชิงลงมือในจังหวะที่ฝ่ายตรงข้ามไม่อาจคาดถึง ไม่ว่าจะเป็นดนตรีหรือศาสตร์และศิลป์ใด ๆ ก็ล้วนแล้วแต่ต้องอาศัย “จังหวะ” ในการสร้างความสมบูรณ์งดงาม เช่นเดียวกับที่นักสู้จะสามารถมีชัยได้ ก็ต้องใช้อาวุธอย่างถูกต้องสอดคล้องกับ “จังหวะ” ในการต่อสู้ช่วงชิง สรรพสิ่งล้วนมีจังหวะ แม้แต่ “ความว่าง” ก็ยังมีจังหวะ การดำเนินชีวิตของคนทุกชนชั้นก็ยังมีจังหวะของชีวิต นักสู้มีจังหวะแห่งการเติบโตและล่มสลาย พ่อค้ามีจังหวะของการร่ำรวยและล้มละลาย สรรพสิ่งจึงมีทั้งจังหวะและการรุ่งเรืองและเสื่อมโทรม กลยุทธ์ก็เป็นเช่นสิ่งอื่นที่มีจังหวะอันหลากหลาย นักสู้พึงแยกแยะจังหวะที่เหมาะสมออกจากจังหวะที่ไม่เหมาะสม โดยเรียนรู้จากขนาดเล็กให_่ ความเร็วช้า และลำดับก่อนหลัง ซึ่งทั้งหมดนี้ล้วนส่งผลต่อจังหวะของกลยุทธ์ หากไม่เรียนรู้ถึงจังหวะย่อมไม่อาจบรรลุถึงกลยุทธ์ และที่สำคั_มีเพียงการฝึกฝนเท่านั้น ที่เป็นวิถีแห่งการเรียนรู้ถึง “จังหวะ” ของกลยุทธ์
The acting of 5 Ring rules.
1) To stand strenght ,relaxing of whole body.

2)Don't make the strong eyes,look to strenght by solfness.

3)Either right hand or left hand leave on beside,don't make a

strong tie of a muscle.

4)The feet spread on ordinary stand.

5)The breath in -out on ordinary body physic.
This is the real acting to fight by life to life,no more than

of this rule.

Inspired from "five ring rule of Miyamoto Musashi".



No comments: